สังเกตการเรียนการสอน 2553

Blog เพื่อการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย

วิชานี้ก็เป็นวิชาที่ 3 แล้วในการจัดทำ Blog ขึ้นเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานในกระบวนรายวิชาต่างๆ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาอ่านได้ทั้ง 3 Blog ดังต่อไปนี้

ขอบคุณสำหรับการติดตาม....

เรื่องเล่าในห้องเรียน วันที่ 29 มิถุนายน 2553

大家好.


สวัสดีค่ะ กลับมาอีกครั้งในปีการศึกษาใหม่ กับวิชา กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาการศึกษาปฐมวัย วิชานี้ก็เป็นวิชาหนึ่งที่มีผู้สอนหลายท่าน โดยในสัปดาห์นี้ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ เป็นผู้สอน

ห่างหายไปนานกับการทำบล็อกนี้ ก็มีรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้น สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก ที่มีเครื่องมือออกแบบที่หลากหลายกว่าเก่า ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์บล็อกให้สวยงามขึ้น อาจจะยังมีงงๆบ้างในบางครั้ง หลายใจบ้างในบางครากับการตกแต่งบล็อกที่ไม่รู้จะเลือกรูปแบบใด ให้ถูกใจ แต่ก็จะพยายามศึกษาต่อไป หาวิธีใส่ code ต่างๆให้ได้!!! เจียโยว่ ^___^

มามะนอกเรื่องซะนาน ขอเล่าหน่อยว่า บรรยากาศในการเรียนการสอนในนั้น บรรยากาศปลอดโปร่งไปด้วยพัดลมหลายตัว คริคริ มีอากาศถ่ายเทสะดวก สื่อการสอนครบครัน (โต๊ะอาจารย์ตัวใหม่สวยมาก... คอมพิวเตอร์จอแบนเครื่องใหม่ Oh my god!!! สุดยอดจริงๆ) โดยนำเสนอ Power Point ในการสอน ทำให้รู้สึกเข้าใจในลายระเอียด มีการซักถาม ทำงานเป็นกลุ่ม

หัวข้อที่สอนโดยรวม มีดังนี้
- รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546
- ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 3-5 ปี
- ทฤษฎีการเรียนรู้
- การนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้ไปใช้

จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอน โดยเนื้อหาที่สรุปมีดังนี้
>>> ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมหรือบทเรียนให้น่าสนใจ เช่น ให้เด็กได้ใช้ของจริง ลงมือปฏิบัติจริง มีการเล่านิทานให้เด็กฟัง รู้จักให้คำชมหรือแรงเสริม ให้เด็กรู้จักคิดใช้คำถาม เช่น ให้เด็ก 3 ขวบ เอ่ยคำว่า "อะไร" เช่น ปริศนาด้วยภาพ เด็ก 4 ขวบ ให้เอ่ยคำว่า "ทำไม" เช่น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ (เรื่องลอยจม) เด็ก 5 ขวบ เอ่ยคำว่า "อย่างไร" โดยลงมือปฏิบัติจริง

เมื่อสรุปเนื้อหาการเรียนการสอนเรียบร้อย อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหาซึ่งกันและกัน โดยเนื้อหาเพิ่มเติมที่ได้มีดังนี้
>>> รูปแบบการเรียนโดยใช้วิธี หรือแนวทางที่มีรูปแบบใหม่เป็นหลัก ซึ่งจะนำเข้าไปสู่ทฤษฎีการเรียนรู้ต่อไป ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น โดยการสร้างสถานการณ์กระตุ้น พร้อมทั้งสร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียน ให้ความอบอุ่นแก่ผู้เรียน และทำให้เด็กคุ้นเคย รู้จักจากสิ่งที่เขากลัวไม่จำเป็นต้องเป็นของจริง อาจเป็นนิทาน,เกม,ทัศนศึกษา เป็นต้น

สำหรับวันนี้ได้เนื้อหาเรื่องที่เรียนไปไม่มากก็น้อย แต่ทุกเนื้อหาสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในอนาคต สำหรับครั้งนี้ไว้แค่นี้ก่อนแล้วพบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีค่ะ



再见.


Twinkle Twinkle Little Star